กิจกรรมระหว่างเรียน

  4/7/2557

              กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง
            การสร้างความแตกต่างเป็นวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ขององค์กรให้แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งขัน คือ การสร้างจุดเด่นให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ขององค์กรที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาความแตกต่างดังกล่าวไปใช้ในการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์
            ในโลกที่การแข่งขันทางการตลาดมีความรุนแรง การสร้างความแตกต่างจึงเป็นกลยุทธ์ที่ถูกนำไปใช้โดยองค์กรจำนวนมาก ในธุรกิจธนาคารพาณิชย์เอง ก็มีการนำเอากลยุทธ์การสร้างความแตกต่างไปใช้ ซึ่งรูปแบบการสร้างความแตกต่างนั้นมีอยู่ 5 รูปแบบด้วยกัน คือ
            1.การสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ของธนาคาร เป็นการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็คือ บริการต่างๆที่ธนาคารให้กับลูกค้า เช่น ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย บัญชีกระแสรายวัน ซีไอเอ็มบี ไทย เพาเวอร์ แอคเคาท์ ที่ได้รับดอกเบี้ย พร้อมกับบริการทางบัญชีที่รวมเอาผลิตภัณฑ์ทางด้านสินเชื่อ เงินฝาก การค้าต่างประเทศและผลิตภัณฑ์บริหารเงินสด (Cash Management) เข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดมอบให้กับลูกค้า
            2.การสร้างความแตกต่างในบริการ เป็นการสร้างความแตกต่างโดยเน้นที่บริการประกอบอื่นๆที่ให้กับลูกค้า เช่น ธนาคารซีไอเอ็มบีมีสถานที่ที่ให้บริการทั้งในประเทศซึ่งมี 165 สาขา และต่างประเทศในอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ จีน และฮ่องกง เป็นต้น, เวลาเปิด-ปิดทำการจะแตกต่างกันออกไปของแต่ละสาขา, ความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้าแต่ละราย
            3.การสร้างความแตกต่างในบุคลากร เป็นการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับพนักงานของธนาคาร เช่น บุคลิกภาพของพนักงาน มารยาทของพนักงาน การทักทาย ภาษา การมีจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี
            4.การสร้างความแตกต่างในช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับความสะดวกของการใช้บริการของธนาคาร เช่น มีสาขาอยู่ทุกแห่งทั้งต่างประเทศอาเซียนและในประเทศ เช่น ห้างสรรพสินค้า สาขาในตลาดนัด รถไฟฟ้า และรถไฟใต้ดิน มีสาขาอยู่ตามจังหวัดต่างๆที่มีเศรษฐกิจที่ดี มีสาขาในสำนักงานของบริษัทขนาดใหญ่ เป็น้น
            5.การสร้างความแตกต่างในภาพพจน์ขององค์กร เป็นการเน้นสร้างภาพพจน์ขององค์กรให้เกิดขึ้นในการรับรู้ของผู้บริโภค การเน้นการสร้างภาพพจน์ของธนาคารที่รับผิดชอบต่อสังคมในการจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติให้ทุนการศึกษา เช่น โครงการ “จิตอาอสา ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยกับโครงการแว่นแก้ว” ตำบล ท่าวุ้ง จังหวัด ลพบุรี ในการออกหน่วยบริการตัดแว่นสายตาฟรีให้แก่ผู้สูงอายุที่ยากไร้ใน จ.ลพบุรี ให้บริการผู้สูงอายุกว่า 600 คน เป็นต้น

กลยุทธ์การตลาดของธนาคาร
            กลยุทธ์การตลาดของธนาคาร ประกอบด้วยกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s ได้แก่
                        ผลิตภัณฑ์ของธนาคาร (Product of Banking)
                        สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                                    1.ผลิตภัณฑ์หลักของธนาคาร มีดังนี้
                        1.ธนาคารค้าปลีก (Retail Banking) เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นประชาชนทั่วๆไป บริการหลักๆมีดังนี้
            -บริการเงินฝาก มีหลายรูปแบบ คือ
                        * เงินฝากออมทรัพย์ เป็นเงินฝากประเภทที่ลูกค้าสาขา ฝาก-ถอนได้ทุกเวลา ทุกสาขา เช่น เงินฝากออมทรัพย์ CIMB Preferred Account ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เงินฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ยสูง พร้อมรับดอกเบี้ยรายเดือน สิทธิ์พิเศษเฉพาะสำหรับสมาชิก CIMB Preferred เท่านั้น
                      * เงินฝากประจำ เป็นเงินฝากประเภทที่ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ ในปัจจุบันมีตั้งแต่ 3, 6, 12, 24 และ 36 เดือน ลูกค้าต้องรอให้ครบกำหนดก่อนจึงจะถอนได้และได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนด ลูกค้าสามารถถอนก่อนกำหนดได้ แต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ เช่น เงินฝากประจำ ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เป็นเงินฝากประจำที่สามารถกำหนดระยะเวลาฝากได้ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ธนาคารจะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยได้รับดอกเบี้ยสูงและแน่นอนตลอดระยะเวลาฝาก
                        * เงินฝากกระแสรายวัน เป็นเงินฝากประเภทที่ลูกค้าสามารถใช้เช็คในการถอนเงินสดหรือเปลี่ยนมือกันได้ เป็นเงินฝากประเภทที่สะดวกในการใช้แต่ไม่มีดอกเบี้ย เช่น เงินฝากกระแสรายวัน CIMB Preferred Current Plus ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ประเภทไม่มีสมุดคู่ฝาก โดยใช้เช็คในการสั่งจ่ายแทนเงินสด พร้อมรับดอกเบี้ยเมื่อมียอดเงินฝากตามที่ธนาคารกำหนด สิทธิ์พิเศษเฉพาะสำหรับสมาชิก CIMB Preferred เท่านั้น
                       * เงินฝากรูปแบบอื่นๆ เช่น เงินฝากเพื่อเกษียณอายุ เงินฝากเพื่อการศึกษา เงินฝากเพื่อซื้อบ้าน เงินฝากเพื่อการแต่งงาน เงินฝากพร้อมประกันชีวิต เงินฝากเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น
                      * บริการรับฝากเงินตราต่างประเทศ เช่น เงินฝากเงินตราต่างประเทศ ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ที่ให้ดอกเบี้ยสูง และลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน เป็นต้น
            - บริการด้านสินเชื่อสำหรับประชาชน มีหลายรูปแบบด้วยกันคือ
                     * เงินกู้เพื่อการลงทุนในธุรกิจสำหรับบุคคล เช่น บัตรสินเชื่อบุคคลเอ็กซ์ตร้าแคช ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บัตรสินเชื่อบุคคลในรูป แบบวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน สมัครครั้งเดียว รับเงินสดสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน หรือวงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาท ไม่ต้องมีบุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันใดๆ
                       * เงินกู้เพื่อการซื้อบ้าน ตกแต่งบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ต่อเติมบ้าน เช่น สินเชื่อบ้าน โฮมโลน 4U ของธนาคารซีไอเอ็มบีไทย สินเชื่อบ้าน โฮมโลน 4U เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อบ้าน ไถ่ถอนสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น หรือปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง สามารถเลือกผ่อนชำระง่ายๆ ด้วยยอดเงินที่เท่ากันทุกเดือน หรือผ่อนชำระสบายๆ ด้วยยอดเงินที่ต่ำในช่วงแรกและเพิ่มยอดเงินผ่อนชำระตามการเพิ่มของรายได้ (Step-up Payment) มอบวงเงินสินเชื่อสูงสุดถึง 120% ของราคาประเมิน รวมวงเงินสินเชื่อเพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันอัคคีภัย
                        * เงินกู้เพื่อซื้อรถจักรยานยนต์ รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
                       * เงินเบิกเกินบัญชี (O/D) สำหรับผู้มีบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์สำหรับเงินเดือน เช่นสินเชื่อบุคคล แคชลิงค์ ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่ออเนกประสงค์ สำหรับท่านเจ้าของบัญชีเงินฝาก มอบวงเงินสินเชื่อสำรองเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน รับอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมพิเศษ มี ประเภทวงเงินที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการ ทั้งวงเงินกู้, วงเงินเบิกเกินบัญชี, ซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน, วงเงินค้ำประกัน, อาวัลและรับรอง
            - บริการจ่ายชำระเงินสำหรับค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าซื้อ ค่าประกันภัย ค่าภาษี และอื่นๆรูปแบบการให้บริการมี 2 รูปแบบหลักๆ คือ
                        * บริการรับชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
                        * บริการรับชำระเงินโดยตัดบัญชีอัตโนมัติ
            - ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
                        * ธนาคารโทรศัพท์ (Tele-Banking) – เป็นการให้บริการลูกค้าในการทำธุรกรรมทางโทรศัพท์ เช่น บริการ ซีไอเอ็มบี ไทย โฟนแบงค์กิ้ง ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เป็นเรื่องการสอบถามยอดบัญชี การโอนเงิน การสอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์การเงินของธนาคาร การชำระค่าสินค้าและบริการ การสอบถามสถานะเช็ค การอายัดรายการเช็ค หรือบัตรเอทีเอ็ม โดยสามารถทำผ่านทางโทรศัพท์ที่หมายเลข 0 2626 7777 เป็นต้น
                        * เครื่อง ATM – เป็นการให้บริการลูกค้าในการฝาก-ถอนเงินผ่านทางเครื่อง ATM
            * ธนาคารอินเตอร์เน็ต (Internet Banking) – เป็นการให้บริการลูกค้าในการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น CIMB Clicks Internet Banking ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ที่ให้บริการธุรกรรมทางการเงินได้ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ /ผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต พร้อมบริการที่หลากหลาย ปลอดภัย สะดวก เพื่อตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ที่รวดเร็วของคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมงเหมือนมีสาขาธนาคารอยู่ข้างๆคุณ
            - บริการบัตรเครดิต เช่น บัตรกดเงินสด CIMB Extra Cash ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เป็นต้น
            - บริการบัตรเครดิตหรือบริการบัตรเดบิตและบัตร ATM ในใบเดียวกัน
                        2. ธนาคารสำหรับองค์กรธุรกิจ (Corporate Banking)
            -บริการด้านเงินฝาก – บริการนี้จะคล้ายคลึงกับธนาคารค้าปลีก คือ มีบริการเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ เงินฝากกระแสรายวัน และรับฝากเงินตราต่างประเทศ
            - บริการด้านสินเชื่อสำหรับองค์กร มีหลายรูปแบบด้วยกัน คือ
                        * เงินกู้ระยะสั้นและเงินกู้ระยะยาว เช่น SME Business Premises Loan ของธนาคารซีไอเอ็มบีไทย สินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจในแบบของคุณ สบายใจกับระยะเวลากู้นานสูงสุด ถึง 15 ปี
                        * ส่วนลดตั๋วต่างๆ เป็นบริการรับซื้อเช็คลงวันที่ล่วงหน้า Bill of Exchange ตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยหักส่วนลด เพื่อให้ผู้ถือสามารถนำเงินสดไปใช้ได้ก่อนวันกำหนดขึ้นเงิน
            - บริการจ่ายชำระเงิน มีหลายรูปแบบด้วยกัน คือ
• บริการจ่ายเงินเดือนพนักงานบริษัทโดยการนำเข้าบัญชี
•บริการรับชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าประกันภัย เป็นต้น
•บริการจ่ายชำระภาษีมูลค่าเพิ่มคืนให้กับลูกค้า
•บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ บริการทางด้านธนาคารโทรศัพท์ (Tele Banking) และธนาคารอินเตอร์เน็ต(Internet Banking)
•บริการค้ำประกัน เป็นบริการออกจดหมายหรือเอกสารค้ำประกันให้กับลูกค้าเพื่อรับรองจ่ายชำระเงินของลูกค้า เช่น จดหมายรับประกันการซื้อสินค้า เป็นต้น
3. บริการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ มีบริการหลายรูปแบบด้วยกัน คือ
•บริการรัปฝากเงินตราต่างประเทศ บุคคลธรรมดาหรือองค์กรจะเป็นผู้ฝากก็ได้
•บริการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า(Forward Exchange Service)
•บริการโอนเงินข้ามประเทศ ซึ่งอาจจะส่งเป็นดราฟต์ เช็ค หรือการโอน (Wire Transfer)
•บริการนำเข้าและส่งออก(Import-Export) เช่น การออก Letter of Credit (L/C) โดยธนาคารจะชำระเงินให้กับธนาคารต่างประเทศตามเงื่อนไขใน L/C ล่วงหน้า แล้วค่อยเก็บเงินจากลูกค้า หรือบริการซื้อตั๋วชำระค่าภาษีนำเข้า โดยหักส่วนลดบางส่วนไว้ในกรณีนี้ ผู้นำเข้าจะไดรับเงินสดไปก่อน เป็นต้น
•บริการอื่นๆ เช่น การขายเช็คเดินทางให้กับนักท่องเที่ยว การรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การออกจดหมายรับรองสถานะทางการเงินของลูกค้า เป็นต้น
4. บริการที่เกี่ยวกับตลาดทุน เช่น การเป็นตัวแทนรับซื้อขายหุ้น กองทุนรวม การจัดการกองทุนเลี้ยงชีพ เป็นต้น
5. บริการอื่นๆ เช่น บริการให้เช่าตู้นิรภัย บริการขายเช็คธนาคาร บริการขายเช็คของขวัญ เป็นต้น  
สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมนั้น เป็นบริการประกอบหรือประโยชน์อื่นๆ ที่ธนาคารนำมาใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า ตัวอย่างเช่น
1.สถานที่ของธนาคาร - ทั้งสถานที่ภานในและภายนอก สถานที่ภายในหมายถึง การมีสถานที่ที่เป็นระเบียบ สะอาด มีการตกแต่งที่เป็นมืออาชีพ สะดวกในการติดต่อ และมีบริเวณให้ลูกค้านั่งรอพร้อมมีหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้อ่าน ส่วนสถานที่ภายนอก หมายถึง ตัวอาคารที่ดูดีทันสมัย  เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับธนาคาร  นอกจากนั้นควรมีที่จอดรถให้ลูกค้าอย่างเพียงพอด้วย
2. การให้บริการ การให้บริการจำเป็นต้องมีความถูกต้อง รวดเร็ว ลูกค้ารอคอยไม่นาน ธนาคารบางแห่งมีเคาน์เตอร์ด่วนในการให้บริการลูกค้าที่ต้องการทำรายการเดียว ทำให้ไมต้องรอคิวนานในเรื่องการให้บริการนี้ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งของต่างประเทศ มีการรับประกันว่า ลูกค้าแต่ละคนจะได้รับบริการที่รวดเร็ว โดยเวลาที่ใช้รอนั้นจะไม่เกินกว่าเวลาที่กำหนด เช่น 5 นาที หรือ 10 นาที
3. บุคคลากร พนักงานที่ใช้บริการจะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีความเป็นมิตรหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส พูดจาดี รวมทั้งให้คำแนะนำลูกค้าต่างๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. ความปลอดภัย ธนาคารจะต้องให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยแกลูกค้าในเวลาที่ลูกค้ามาใช้บริการ ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่จะพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยดูแล รวมทั้งมีการบันทึกภาพกล้องวีดีโอ นอกจากนี้ตัวธนาคารเองยังยังจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในเรื่องสถานะทางการเงินของธนาคารด้วย
5. เวลาทำการ เวลาที่เปิดให้บริการจะต้องสะดวกต่อลูกค้า ปัจจุบันสาขาบางแห่งของธนาคารได้มีการเปิดให้บริการในช่วงหลัง 17.00 . และเปิดให้บริการในวันเสาร์และวันอาทิตย์ด้วย และเพิ่มสะดวกในการธุรกรรมโดยเปิดให้มีการบริการสาขาในห้างสรรพสินค้าและสถานที่ราชการรวมทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นลักษณะสาขาจิ๋ว (Mini Branch)
6. การอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น เครื่อง Update สมุดบัญชีเงินฝาก เครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติ และบริการแจ้งอัตราแลกเปลี่ยน สอบถามข้อมูลอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์จะให้ความสำคัญกับลูกค้าในลักษณะบริการครบวงจรมากขึ้น มีรูปแบบการให้บริการต้นเอง (Direct Banking) นำเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยมากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับธนาคารได้โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ทางการเงินจะมีการพัฒนาให้ลูกค้าเข้าถึงการทำธุรกรรมที่สะดวก โดยนำการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management หรือ CRM) เข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน
ราคาหรืออัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
ราคา หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายกำหนดไว้สำหรับการขายสินค้าหรือบริการในธุรกรรมธนาคารพาณิชย์นั้น ราคาจะหมายถึงอัตรดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างงๆ ซึ่งเราสามารถจัดกลุ่มราคาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.       อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบัญชีออมทรัพย์และประจำทุกประเภท อัตรดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ดังนี้ file:///C:/Users/SDU-Students/Downloads/rate_deposit_no.15-2557.pdf
2.       อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ดังนี้ file:///C:/Users/SDU-Students/Downloads/rate-loan_2557_no2_31032014_th%20(1).pdf
3.       ค่าธรรมเนียมการให้บริการต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมบัตร ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมเช็คธนาคาร เช็คของขวัญ การโอนเงิน เป็นต้น
4.       อัตราแลกเงินตราต่างประเทศ
วิธีการตั้งราคานั้นมีหลายรูปแบบด้วยกันคือ
1.       การตั้งราคาแบบบวกเพิ่มผลกำไร เช่น การคำนวณดูว่าต้นทุนของเงินเป็นเท่าไร ต้องการกำไรกี่เปอร์เซ็นต์จากต้นเงิน จากนั้นจึงนำกำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น
2.       การตั้งราคาตามคุณค่าของบริการ ถ้าบริการมีคุณค่าสูง ราคาก็ต้องสูงตาม เช่น ค่าธรรมเนียมบบัตรเครดิตสีทองย่อมสูงกว่าบัตรเครดิตสีเงิน เพราะมีประโยชน์ให้กับลูกค้ามากกว่า  เป็นต้น
3.       การตั้งราคาที่ดึงดูดใน เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ เป็นต้น
4.       การตั้งราคาดดยคำนึงถึงมูลค่าของลูกค้าตลอดอายุ เช่น เงินฝากประจำ ยิ่งฝากนานดอกเบี้ยยิ่งสูง หรือเงินกู้ในระยะยาวที่อัตราดอกเบี้ยช่วงแรกอาจจะต่ำเป็นพิเศษแล้วค่อยเพิ่มสูงขึ้นในปีหลังๆเป็นต้น
5.       การตั้งราคาตามคู่แข่ง เป็นการกำหนดราคาเหมื่อนกันกับคู่แข่ง เช่น ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาเท่ากับธนาคารคู่แข่ง เป็นต้น
การตัดสินใจเรื่องราคาของธนาคารพาณิชย์นั้นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
-         ต้นทุนเงิน
-         ค่าใช้จ่ายทางการตลาด
-         ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
-         ผลกำไรที่ต้องการ
-         การแข่งขัน

ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคาร
ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคาร หมายถึง วิธีการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วิธีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจะต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าส่งหรือพ่อค้าปลีก แต่ในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ซึ่งขายบริการนั้น ธนาคารมักจะติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ซึ่งลูกค้าอาจมาติดต่อที่ธนาคารเองหรือธนาคารอาจออกไปหาลูกค้าก็ได้ ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคารพาณิชย์นั้นมีลักษณะดังนี้ คือ
1.สำนักงานใหญ่หรือสาขา เป็นช่องทางแบบดั้งเดิมที่ธนาคารใช้ในการให้บริการกับลูกค้าและยังคงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ช่องทางที่ ลูกค้าสามารถใช้ทำธุรกรรมได้ทุกประเภท ปัจจัยหลักที่ใช้ในการเลือกสถานที่ตั้งของสาขาก็คือ ย่านชุมชนและย่านธุรกิจที่มีการคมนาคมที่สะดวก มีที่จอดรถอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าช่องทางนั้นจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุด แต่การขยายสาขาจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ฉะนั้น จึงได้เกิดช่องทางใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มีสำนักงานใหญ่ ถนนหลังสวน 44 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน  กรุงเทพมหานคร 10330
2.สาขาย่อย เป็นสาขาขนาดเล็ก (Mini Branch) ที่เข้าไปตั้งอยู่บนสถานีรถไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้า สาขาย่อยเหล่านี้จะให้บริการเฉพาะอย่างเท่านั้น เช่น ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มี 165 สาขา ทั่วประเทศ
3.ธนาคารเคลื่อนที่ (Mobile Banks) เป็นรถธนาคารเคลื่อนที่ที่วิ่งไปให้บริการลูกค้าตามสถานที่ต่างๆ เช่น บริษัท อาคารสำนักงาน โรงงาน แหล่งชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น
4. เครื่อง ATM เป็นช่องทางที่ให้ลูกค้าสามารถถอน ฝาก และโอนเงินได้โดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำ สามารถติดตั้งได้ทั่วไป เช่น ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มี เครื่อง ATM ที่ได้เปิดให้บริการ CIMB ATM Regional Link ซึ่งเป็นบริการถอนเงินสดข้ามประเทศ ตลอดจนการเช็คสอบยอดบัญชีคงเหลือ โดยผู้ถือบัตรเอทีเอ็มของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบี สามารถทำธุรกรรมทางการเงินข้ามพรมแดนได้ผ่านเครื่องเอทีเอ็ม 3,750 เครื่อง ใน 4 ประเทศของเครือข่ายสมาชิกกลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี ซึ่งประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ โดยในไทยมี 522 เครื่องที่ให้บริการ
5.ธนาคารโทรศัพท์ (Tele-Banking) และธนาคารออนไลน์ (Online Banking) เป็นช่องทางใหม่ที่ธนาคารในประเทศไทยได้นำเข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดเงิน โอนเงินผ่านทางโทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์มือถือ หรือทางอินเทอร์เน็ต (Internet) ได้ เช่น ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มี CIMB Clicks Internet Banking ที่ให้ บริการโอนเงินภายในธนาคาร, บริการชำระค่าสินค้าหรือบริการ, โอนเงินล่วงหน้า, บริการด้านการลงทุน ซื้อ ขาย สับเปลี่ยน กองทุนรวมของบลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และรายงานต่างๆที่เกี่ยวกับการลงทุน เป็นต้น
การส่งเสริมการตลาดธนาคาร
การส่งเสริมการตลาดธนาคารเป็นเครื่องมือที่ธนาคารใช้ในการสนับสนุนการขาย ประกอบไปด้วย การโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ซึ่งจะรวมถึงการตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ด้วย การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) และการตลาดทางตรง (Direct Marketing)
การโฆษณา
การโฆษณา หมายถึง กิจกรรมที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ใช้สื่อสารข้อมูลถึงกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าโดยผ่านสื่อประเภทต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ นิตยสาร อินเทอร์เน็ต เป็นต้น วัตถุประสงค์ของการโฆษณาก็เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และให้รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ เพื่อชักจูงใจผู้บริโภคให้มาใช้บริการ และเพื่อย้ำเตือนความจำของผู้บริโภค เช่น ร้อนนี้... จะไปไหนดี ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย สร้างการรับรู้ โครงการ "ชุ่มฉ่ำ ซัมเมอร์" โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากประจำซีเนียร์ ดอกเบี้ยสูง ปลอดภาษี ผ่านการเล่าเรื่องของความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว เพื่อให้เข้ากับช่วงเดือนเมษายน เดือนแห่งการเดินทาง ท่องเที่ยว และมอบความสุขให้กับทุกคนในครอบครัว
การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ที่ดีขององค์กรและผลิตภัณฑ์ งานการประชาสัมพันธ์นั้น มีหลายประเภท เช่น การมีส่วนร่วมในการออกแบบสัญลักษณ์ (Logo) และผลิตภัณฑ์ของธนาคาร การออกแบบชุดพนักงาน การตกแต่งสำนักงาน การบอกข่าวหรือแจ้งข่าวที่เกี่ยวข้องกับธนาคารไปยังสื่อมวลชนเพื่อให้เสนอข่าวหรือการแถลงข่าวเป็นการเชิญสื่อมวลชนมาฟังการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ เป็นต้น เช่น ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย รับรางวัลยอดเยี่ยมThailand ICT Excellence Awards 2013 ประเภทรางวัล "โครงการขับเคลื่อนธุรกิจ (Business Enabler Projects)"
นอกจากนี้ การสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนก็เป็นงานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ โดยอาจจะมีการสังสรรค์เป็นระยะๆ กับสื่อมวลชนและนักข่าวในสายการเงิน ในธุรกิจธนาคารได้มีการรวมตัวกันระหว่างฝ่ายประชาสัมพันธ์ของธนาคารแต่ละแห่งเป็นชมรมของนักประชาสัมพันธ์คอยประสานงานกับสื่อมวลชน
การส่งเสริมการขาย
การส่งเสริมการขาย หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดที่มีขึ้นเพื่อกระตุ้น ให้เกิดยอดขายในระยะเวลาอันสั้น การทำการส่งเสริมการขายมีมากมายหลายวิธีด้วยกัน เช่น การลดราคา การชิงโชค การแลกซื้อ การแจกของแถม การให้ทดลองใช้ฟรี การแจกของตัวอย่าง เป็นต้น ในอดีต การใช้การส่งเสริมการขายในธุรกิจธนาคารมีไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันที่การแข่งขันรุนแรง กลยุทธ์การส่งเสริมการขายจึงได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น รีไฟแนนซ์บ้านวันนี้ รับส่วนลดฟรีสูงสุด 217,350 บาท ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
การขายโดยใช้พนักงานขาย
บทบาทของธนาคารได้เปลี่ยนแปลงไปมาก จากอดีตที่ลูกค้าต้องเป็นฝ่ายเข้ามาติดต่อกับธนาคาร เป็นการที่พนักงานของธนาคารต้องออกไปหาลูกค้าแทน พัฒนาการของการขายเริ่มมาจากธนาคารต่างชาติที่เริ่มรุกธุรกิจย่อยตั้งแต่ปี 2536 จนกระทั่งวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ.2541 ซึ่งทำให้เกิดธนาคารที่มีการร่วมทุนระหว่างธนาคารท้องถิ่นกับธนาคารต่างชาติเป็นธนาคารลูกครึ่งหลายแห่ง เป็นผลให้การทำการตลาดเชิงรุกที่เน้นการขายมีมากขึ้น
ธนาคารเสมือนจริง (Virtual Bank)
นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต (Internet), คอลล์เซ็นเตอร์ (Call Center) , เอทีเอ็ม (ATM) และโมบายล์แบงก์กิ้ง (Mobile Banking) ลูกค้าจะให้ความสนใจเพิ่มขึ้นต่อเงินฝากดอกเบี้ยสูงและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงการติดต่อผ่านวีดีโอ ซึ่งรูปแบบเวอร์ช่วลแบงก์มีต้นทุนที่ต่ำกว่า และในอนาคตพัฒนาการทางเทคโนโลยีเริ่มเปลี่ยนจาก “สาขา” ของธนาคารไปสู่ “การให้บริการ” แก่ลูกค้าผ่านอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และวีดีโอภายในบ้านและการบริการเสมือนจริงผ่านชุมชนออนไลน์ (Virtual Community) รวมถึงการใช้เครื่องมือการบริการการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Management-PFM)
คำถามสำคัญสำหรับอนาคตคือ “วิธีใดจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุดในการผนวกรวมและนำเสนอบริการธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อย” รูปแบบธุรกิจและเทคโนโลยีใดจะช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับธนาคารและส่งผลดีต่อราคาหุ้นของธนาคารมากที่สุด ทั้งนี้ ธนาคารต่างๆ จะต้องมุ่งเน้นรูปแบบธุรกิจและช่องทางบริการที่เพิ่มมูลค่าสูงสุด และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อลูกค้าส่วนใหญ่ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายโดยรวมให้แก่ธนาคาร การเป็น “ธนาคารแห่งอนาคต” จะต้องมองหาหนทางในการสร้างจุดขายที่แตกต่าง ปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้ าและติดต่อเชื่อมโยงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม

อ้างอิง :    http://www.cimbthai.com/CIMB/home/
                              
1/7/2557

เก็บตกการแสดงละคร
 





อยากเห็นพวกเราแสดงละครแล้วใช่ม๊า คลิก! ด้านล่างเลยคร้า คลิก คลิก สิคะ รับรองความฮา 555


https://www.facebook.com/photo.php?v=10202196136046125

 
  8/06/2557

อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ  ธนาคารซีไอเอ็มบี
 เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่  1 เมษายน  2557

อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (ร้อยละต่อปี)
    1.      อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญชั้นดี  ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate
          MLR  =  7.375
    2.      อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate
          MOR  = 7.625
    3.      อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retailt Rate)
    MRR  = 8.00
    4.      อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Housing Loan Rate)
    HLR  = 6.625
    5.      อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลรายย่อย (Consumer Loan Rate)
    CLR  = 20.00

อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง)
หมายถึง อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ  จากลูกค้า ได้แก่
      - MLR (Minimum Loan Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
      -   MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
      -  MRR (Minimum Retail Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น

         ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  

   
    ดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม>> อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารซีไอเอ็มบี  ได้ที่



8/06/2557
โครงสร้างของแหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของธนาคารซีไอเอ็มบี

ธนาคารซีไอเอ็มบี
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

แหล่งใช้ไปของเงินทุน
(Use of fund)
แหล่งที่มาของเงินทุน
(Sources of fund)

สินทรัพย์
 (Asset)

สินทรัพย์หมุนเวียน

เงินสด
รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ
สินทรัพย์ตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน
เงินลงทุนสุทธิ
เงินลงทุนในบริษัทย่อยสุทธิ
เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับ
ภาระของลูกค้าจากการรับรอง
ทรัพย์สินรอการขายสุทธิ

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ที่ดิน  อาคารและอุปกรณ์สุทธิ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสุทธิ
สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
ลูกหนี้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
สินทรัพย์อื่นๆ




หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
(Liabilities + Equity)

หนี้สิน

เงินรับฝาก
รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน
หนี้สินจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
หนี้สินทางการเงินที่กำหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม
หนี้สินตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน
ตราสารหนี้ที่ออกและเงินให้กู้ยืม
ภาระของธนาคารจากการรับรอง
ประมาณการหนี้สิน
หนี้สินอื่นๆ

ส่วนของเจ้าของ
ทุนเรือนหุ้น
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ
องค์ปนะกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ
ส่วนเกินจากการลี่ยนแปลงส่วนได้เสียของธนาคารในบริษัทย่อย
กำไรสะสม





































ดูรายละเอียดได้ที่   file:///C:/Users/SDU-Students/Downloads/fs_mar14_reviewed_th.pdf



24/05/2014
โครงสร้างองค์กร (กรณีศึกษา)


รูปแบบการจัดองค์การธนาคารซีไอเอ็มบี
            เป็นโครงสร้างองค์การแบบแมททริกซ์ (Matrix  Structure) เป็นการจัดองค์การโดยใช้ทีมงานซ้อนหน้าที่ และหน่วยงานต่างๆขององค์กรหรือการจัดการองค์การที่ผู้ปฏิบัติงานมีนายสองคน หรือต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาสองคน เพราะ องค์การดังกล่าวต้องทำงานหลากหลาย ข้ามหน่วยงานจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและในสภาพแวดล้อมที่ยุ่งยากซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ลักษณะการจัดองค์การธนาคารพาณิชย์
1.      Organization Chart รวมของทั้งระบบธนาคาร
1.คณะกรรมการธนาคาร ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นเข้ามาบริหารดูแลกิจการ
ธนาคาร และผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถที่ธนาคารเชิญเข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยมีทั้งหมด 9 คน ดังนี้ 1.นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช (ประธานกรรมการ)  2.ดาโต๊ะ โรเบิร์ต แชบ เด๊า เม็ง
(รองประธานกรรมการ ,กรรมการและประธานสำรองคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา) 3.นายสุคนธ์ กาญจนหัตถกิจ (กรรมการอิสระ ,ประธานกรรมการตรวจสอบ)
4.นางวาทนันทน์ พีเทอร์สิค (กรรมการอิสระ, ประธานคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา) 5.ดาโต๊ะ ชารานิ บิน อิบราฮิม กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ, กรรมการคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และสรรหา) 6.นายเคนนี คิม (กรรมการ, ประธานสำรองคณะกรรมการบริหาร    ความเสี่ยง) 7.นายสุภัค ศิวะรักษ์ (กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) 8.นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์์ (กรรมการอิสระ) 9.นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย์ (กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ)
                   2.คณะกรรมการจัดการ มีทั้งหมด 14 คน ดังนี้ 1.นายสุภัค ศิวะรักษ์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) 2.นายสุรชัย จิตตรัตน์เสนีย์ (ผู้บริหารสูงสุด สายสนับสนุนธุรกิจ) 3.นางปนุท ณ เชียงใหม่ (ผู้บริหารสุงสุด สายบริหารความเสี่ยง) 4. นายณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์ (ผู้บริหารสูงสุด สายกลยุทธ์และการเงิน) 5.ม.ล.ณัฏฐ์ชัญญา ทวีวงศ์ ( ผู้บริหารสูงสุด สายบริหารธุรกรรมการเงิน  ) 6.นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ (ผู้บริหารสูงสุด สายสารสนเทศและปฏิบัติการ) 7.นายพรชัย ปัทมินทร ( ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจขนาดใหญ่) 8.นายจิรัชยุติ์ อัมยงค์( ผู้บริหารสูงสุด สายพาณิชย์ธนกิจ) 9.นายอดิศร เสริมชัยวงศ์( ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจรายย่อย ) 10.นายสุธีร์ โล้วโสภณกุล (ผู้บริหารสูงสุด สายบริหารเงิน) 11.นายสิทธิไชย มหาคุณ( ผู้บริหารสูงสุด สาย Corporate Finance and Equity Capital )Markets ) 12.นายก้องภพ วัฒนสิน (ผู้บริหารสูงสุด ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล) 13.นายประภาส ทองสุข ( ผู้บริหารสูงสุด ด้านสื่อสารองค์กร ) 14.นางสาวสิริพร สนั่นไพเราะ (ผู้บริหารสูงสุด ด้านตรวจสอบภายใน ) ซึ่งเป็นทีมงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะบริหารให้ถึงเป้าหมายของธนาคาร และพันธกิจของธนาคาร
                   3.การแบ่งกลุ่มงานต่างๆภายในธนาคาร ดังนี้ สาย Corporate Finance and Equity Capital Markets สายสารสนเทศและปฏิบัติการ สายกลยุทธ์และการเงิน สายพาณิชย์ธนกิจ สายธุรกิจรายย่อย สายธุรกิจขนาดใหญ่ สายบริหารเงิน สายสนับสนุนธุรกิจ สายบริหารธุรกรรมการเงิน เป็นต้น
            2. Organization Chart ของสายงานต่างๆ
      1.สายกลยุทธ์และการเงิน ประกอบด้วย ด้านการเงิน, ด้านกลยุทธ์ ด้าน Centralized MIS, ด้าน Capital และ Balance Sheet Management
 2.สายสารสนเทศและปฏิบัติการ ประกอบด้วย ด้านเทคโนโลยี, ด้านปฏิบัติการ, Transformation Office (To), ด้านพัฒนากระบวนการธุรกิจ
      3.สายบริหารธุรกรรมการเงิน ประกอบด้วย ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ บริหารธุรกรรมการเงิน,ด้านการตลาดและบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกรรมต่างประเทศ,ด้านบริหารผลิตภัณฑ์และช่องทางธุรกรรมทางการเงิน,ด้านบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า,ด้านบริหารธุรกิจหลักทรัพย์,ด้านบริหารกลยุทธ์และการตลาดธุรกรรมการเงิน
     4.สายพาณิชย์ธนกิจ ประกอบด้วย ด้านพาณิชย์ธนกิจ 1, ด้านพาณิชย์ธนกิจ2, ด้านพาณิชย์ ธนกิจ3, ด้านพาณิชย์ธนกิจ4, ด้านพาณิชย์ธนกิจ5, ด้านพาณิชย์ธนกิจ 6, ด้านพาณิชย์ธนกิจ7
     5.สายธุรกิจรายย่อย ประกอบด้วย เครือข่ายสาขา, ลูกค้าบุคคลธนกิจ, บริหารช่องทางการชาย, ธนบดีธนกิจ, กลยุทธ์และช่องทางอิเล็คทรอนิกส์, ผลิตภัณฑ์การออมและสินเชื่อมีหลักประกัน, บริหารและสบับสนุนการขาย, สินเชื่อรายย่อย
    6. สายบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ด้านบริหารความเสี่ยงและด้านเครดิตและปฎิบัติการ, ทีมบริหารความเสี่ยงด้านการตลาด, ทีมนโยบายความเสี่ยงและบริหารความเสี่ยงกลุ่มธุรกิจทางการเงิน, ด้านกลั่นกรองสินเชื่อ, สำนักวิจัย
     7. สายธุริจขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ด้านวาณิชธนกิจ 1, ด้านวาณิชธนกิจ 2, ด้านวาณิชธนกิจ 3, ด้านวาณิชธนกิจ 4, ส่วนวิเคราะห์สินเชื่อวาณิชธนกิจ
     8. สายบริษัทธุรกิจ ประกอบด้วย ด้านบริษัทธุรกิจ 1, ด้านบริษัทธุรกิจ 2, ด้านบริษัทธุรกิจ 3, ด้านบริษัทธุรกิจ 4, ด้านบรษัทธุรกิจ 5, ทีมธุรกิจสถาบัน, ทีมกลยุทธ์และสบับสนุนบรรษัทธุรกิจ, ส่วนลูกค้าเงินฝากสัมพันธ์
   9. สายบริหารการเงิน ประกอบด้วย บริหารเงินและค้าผลิตภัณฑ์การเงิน, ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์การเงิน, ด้านธุรกรรมตลาดทุน, ทีมวิเคราะห์ความเสยี่ยงธุรกิจบริหารเงิน
     10. สายสนับสนุนธุรกิจ ประกอบด้วย ด้านกฎหมาย, ทีมบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารสำนักงานกลาง
            3. Organization Chart ของฝ่ายต่างๆในสำนักงานใหญ่
                  ฝ่ายต่างๆจะมีหน้าที่รับผิดชอบตาม Functional ของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานตามเป้าหมายที่วางไว้ จากประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ รองประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะกรรมการซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน
            4. Organization Chart ของสำนักงานเขตและสาขา
                 เครือข่ายของกลุ่มซีไอเอ็มบี ของธนาคารครบวงจร มี 5 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ จีน และไทย โดยธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มีทั้งหมด 165 สาขา โดยแบ่งเป็น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 101 สาขา ต่างจังหวัด 64 สาขา ดังนี้ ภาคกลาง 10 สาขา ภาคตะวันออก 12 สาขา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 สาขา ภาคเหนือ 10 สาขา ภาคใต้ 20 สาขา โดยสาขาของธนาคารซีไอเอ็มบีไทยที่อยู่ในต่างจังหวัดจะได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่ในการบริหารดูแล และสนับสนุน ให้สามารถทำธุรกิจแข่งขันกับธนาคารอื่นได้ โดยในแต่ละสาขาจะมีผู้จัดการสาขาเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย

ที่มา : http://www.cimbthai.com  และรายงานประจำปี 2556


โครงการ YFS
วันที่ 17 พฤษภาคม 2557
กับการสอบเข้าโครงการของพวกเรา




ดูงาน MONEY EXPO 2014

วันที่ 8-11 พฤษภาคม  
ถึงปุ๊ป ถ่ายปั๊บ เพราะถ้าไม่ถ่ายแปลว่ามาไม่ถึงงาน
ธนาคารซีไอเอ็มบีค่ะ/ครับ
อ๊ะๆ ถ่ายกันเข้าไปรูปอ่ะ พี่ๆธนาคารซีไอเอ็มบีก็น่าร๊ากเหลือเกิน ไม่เบื่อพวกเราที่ถ่ายรูปเลย
นี่คือรูปที่เราถ่ายออกมา หลายท่าซะเหลือเกิน ขอบคุณธนาคารซีไอเอ็มบี สำหรับรูปค่ะ ได้กันทู๊กคน
เห้ย! เครียดไรกันอ่า ก็ไม่ให้เครียดได้ไง เกมส์จับผิดรูปของธนาคารซีไอเอ็มบี มันยากจริง #ของรางวัลเค้าสวยอ่ะอยากได้ อิอิ
ยังไม่จบอิ๊ก เยอะเนอะกลุ่มเราจะเอาให้ได้ จาเอา 555
เกือบได้แล้วอ่ะ สู้! ต่อปายย
นางเล่นคนเดียว สู้กับเวลา 30 วินาที ต้องเอาบอลเข้าสี ถามว่าเข้ามั้ย no นางแพ้เวลา เสียใจด้วยนะ 5555
คนนี้ก็ยังไม่จบอิ๊ก จะทำให้ได้ สุดท้าย ก็ยอมแพ้ เพราะมันยากจริง 55

พี่เค้าเห็นพวกเราหน้าตาดีเลยเรียกมาถ่ายถือป้ายให้เค้าหน่อย เราก็จัดไป สวยหล่อชิมิ ^_^
นี่คือ เป้าหมายเรา คือ การมาเปิดพอร์ต เปิดฟรี! มีของฟรี! ให้อีก ใครพลาดก็ไว้งานหน้าน๊าาาา  อิอิ

โปรดติดตามตอนต่อไป  :3



ดูงานพิพิธภัณ์ธนาคารไทย

วันที่ 9 พฤษภาคม 2557








ขอขอบคุณธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ให้พวกเราได้ไปชมดูความเป็นมาของธนาคารไทยพาณิชย์ในครั้งนี้ค่ะ   ^_^






ไม่มีความคิดเห็น: